Article 4


กฎ อัยการศึก "  ใน ภาวะ เสี่ยง สร้าง เงื่อนไข ใหม่

ความ ร้อนแรง ของ สถานการณ์ ความ ไม่สงบ  ใน จังหวัด ชายแดน ภาคใต้  ได้ ก้าว เข้า สู่ จุด สูงสุด ทันที  จาก เหตุการณ์ เผา โรงเรียน  20  แห่ง  ใน จ. นราธิวาส  และ การ ปล้น สะดม อาวุธ ปืน  กว่า  300  กระบอก  จาก ค่าย กองพัน พัฒนา ที่  4  อ. เจาะไอร้อง  จ. นราธิวาส  กระทั่ง มี ทหาร ประจำ หน่วยเสีย ชีวิต  4  ราย  ด้วยกัน  ใน คืน วันที่  4  มกราคม  ที่ ผ่านมา

ต่อ เนื่องมา ถึง  การ วาง ระเบิด รถ จักรยานยนต์ ใน  จ. ปัตตานี  จน ทำให้ เจ้าหน้าที่ ใน ชุด เก็บ กู้ วัตถุ ระเบิด  2  นาย  เสีย ชีวิต  ขณะ ปฏิบัติ หน้าที่  ใน วันที่  5  และ ปฏิบัติ การล่าสุด ของ กลุ่ม ติด อาวุธ  ที่ ยิง ถล่ม สถานี ตำรวจ ภูธรตำบล อัยเยอร์เวง  อ. เบตง จ.ยะลา  ใน วันที่  7

เหตุการณ์ ที่ เกิด ขึ้น ยาก ที่ จะ หลีก เลี่ยง ได้ ว่า  กระทบต่อ รัฐบาล อย่างยิ่ง  ด้วย ความ เป็น จริง ที่ ว่า ทุกครั้ง ที่เกิด ความรุนแรง  ปฏิกริยา ที่ เกิด ขึ้น ภายหลัง  ผ่าน ท่า ที ของ ผู้นำ รัฐบาล ก็ คือ  การ ประเมิน ว่า เป็น ฝีมือ ของกลุ่ม โจร ทั่ว ไป ที่ เรียก ร้อง ผล ประโยชน์  อย่างไร ก็ ตาม เหตุการณ์ ที่ เกิด ขึ้น ใน ขณะ นี้ ได้ กระตุ้น ให้ บุคคลใน รัฐบาล หัน มา สนใจ อย่าง จริงจัง มากขึ้น

จะเห็น ได้จาก การลง พื้นที่ อย่าง ต่อ เนื่อง  ของ พล.อ. ชวลิต  ยงใจยุทธ  รองนายกรัฐมนตรี  ( ฝ่าย ความมั่นคง ) พล.อ. ธรรมรักษ์  อิศรางกูร  ณ  อยุธยา  รัฐมนตรีว่าการ กระทรวง กลาโหม  และ  วันมูหะมัดนอร์  มะทา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย  ด้วย สถานการณ์ รุนแรง ที่ เกิดขึ้น ข้างต้น  ทำให้ รัฐบาล เลือก ที่ จะ ออก มาตรการเพื่อ รองรับ

นั่น ก็ คือ  การประกาศ กฎอัยการศึกในพื้นที่ 8 อำเภอ ของจ.นราธิวาส คำสั่งดังกล่าวที่มีขึ้นในวันที่ 5 มกราคม จึงเท่ากับว่าเป็นการเพิ่มพื้นที่จากเดิมที่มีอยู่แล้ว ในอำเภอชายแดนของภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย อ.สะเดา อ.นาทวี และ อ.สะบ้าย้อย ใน จ.สงขลา, อ.ยะหา อ.บันนังสตา อ.ธารโต อ.เบตง ของ จ.ยะลา และในพื้นที่ 5 อำเภอในจังหวัดนราธิวาสประกอบด้วย อ.สุคิริน อ.แว้ง อ.จะแนะ อ.ระแงะ และอ.ศรีสาคร

ส่วน 8 อำเภอ ที่ใช้กฎอัยการศึก หรือในความหมายเท่ากับว่าเป็นการครอบคลุมทั้งจังหวัด ประกอบด้วย อ.เมือง อ.ตากใบ อ.บาเจาะ อ.ยี่งอ อ.ระแงะ อ.รือเสาะ อ.เจาะไอร้อง และ อ.สุไหงปาดี กล่าว สำหรับ พระราชบัญญัติกฎ อัยการศึก พุทธศักราช  2457  เป็น การให้ อำนาจ กับทหาร เข้า ปฏิบัติการ และ เป็น ผู้นำใน การสั่ง การยุทธการใน พื้นที่ แบบ เบ็ดเสร็จ  ซึ่ง ใน สายตา ของ ชาวบ้าน ที่เคย ผ่าน ประสบการณ์ สงคราม คอมมิวนิสต์ ถือว่า เป็น สิ่งที่ น่ากลัว อย่างยิ่ง

ตามมาตรา  4  ระบุว่า  สมารถ ใช้ อำนาจ ดังกล่าว ได้ เมื่อ มี สงคราม หรือ จลาจล ขึ้น  ณ  แห่งใด ให้ ผู้บังคับบัญชา  ทหาร  ณ  ที่นั้น  ซึ่ง มี กำลัง อยู่ใต้ บังคับ ไม่น้อยกว่า หนึ่งกองพัน  หรือ เป็น ผู้บังคับบัญชา ใน ป้อม หรือ ที่มั่น อย่างใดๆ   ของ ทหาร มีอำนาจ ประกาศ ใช้ กฎ อัยการศึก  เฉพาะ ใน เขตอำนาจ หน้าที่ ของ กองทหาร นั้น ได้  แต่จะ ต้องรีบรายงาน ให้ รัฐบาล  ทราบ โดย เร็วที่สุด

นอกจากนี้ ยังให้ อำนาจ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหาร ตามมาตรา 8  โดยเมื่อ ประกาศใช้ กฎ อัยการศึก ใน ตำบล ใด  เมืองใด  มณฑลใด  เจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหาร มีอำนาจ เต็มที่ จะตรวจค้น  ที่ จะเกณฑ์  ที่ จะห้าม  ที่ จะยึด  ที่ จะเข้า อาศัย ที่ จะทำลาย หรือ เปลี่ยนแปลง สถานที่  และ ที่ จะขับไล่

ทั้งนี้ ตามมาตรา  9  มีการให้ มีอำนาจ ที่ จะตรวจค้น ดังต่อไปนี้

(1)  ที่ จะตรวจค้น บรรดา สิ่งซึ่งจะเกณฑ์  หรือ ต้องห้าม  หรือ ต้องยึด  หรือ จะต้อง เข้าอาศัย  หรือ มีไว้ ใน ครอบครอง โดย ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย  ทั้งมีอำนาจ  ที่ จะตรวจค้นได้ ไม่ว่า ที่ ตัวบุคคล  ใน ยานพาหนะ  เคหะสถาน  สิ่งปลูกสร้าง  หรือ  ที่ใดๆ  และ ไม่ว่า เวลาใดๆ  ทั้งสิ้น

(2)  ที่ จะตรวจ ข่าวสาร  จดหมาย  โทรเลข  หีบ  ห่อ  หรือสิ่งอื่นใด ที่ ส่ง  หรือ มี ไปมา ถึงกัน ใน เขต ที่ประกาศ ใช้กฎ อัยการศึก  (3)  ที่ จะตรวจหนังสือ  สิ่งพิมพ์  หนังสือพิมพ์  ภาพโฆษณา  บท หรือ คำประพันธ์  (มาตรา 9  แก้ไข เพิ่มเติม โดยประกาศ ของ คณะปฏิวัติ  ฉบับที่  303 ลงวันที่  13  ธันวาคม  พ.ศ.  2515)

แต่ การประกาศ คำสั่ง ดังกล่าว  ก็ ถูก ตั้ง คำถาม จากหลายฝ่าย ตามมา  โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จาก ผู้นำ ศาสนา และ องค์กร ต่างๆ  ใน พื้นที่  โดยมองไป ใน ทิศทางเดียวกัน ว่า  ใน การประกาศ กฎ อัยการศึก อาจไม่คุ้ม กับ การสูญเสีย  และ ภาพพจน์ ที่ เป็น การซ้ำเติม ชายแดน ภาคใต้

"การหารือกัน ของ ผู้นำ  นักวิชาการ  ทุกคน เห็นพ้องกัน ไว้ ไม่สนับสนุน ให้ ทหาร ประกาศ กฎ อัยการศึก หรือ ประกาศ เคอร์ฟิวส์  ซึ่ง การประกาศ ดังกล่าว น่าจะเป็นแนวทาง สุดท้าย ที่ รัฐ จะเลือกใช้"  อับดุลเลาะมาน  อับดุลสมัด  ประธาน คณะกรรมการอิสลาม จังหวัด นราธิวาส แสดง ทัศนะ และ ว่า  สิ่ง ที่ ห่วงใย ก็คือ  การที่ ทหาร มีอำนาจ อย่างเบ็ดเสร็จ  อาจจะ ทำให้ ไม่มีกรอบ ใน การปฏิบัติ หน้าที่ อย่างชัดเจน  ซึ่ง ปัญหา ที่ จะเกิดขึ้น ตามมาก็คือ ความเดือดร้อน ที่ จะตก กับ ชาวบ้าน

เศรษฐ์ อัลยุฟรี  นายกองค์การบริหาร จังหวัด ปัตตานี กล่าวว่า  สถานการณ์ ที่ เกิดขึ้น ใน ขณะนี้ ไม่มั่นใจว่า รัฐบาล เอาอะไร มาเป็นเกณฑ์ ใน การวัด ความรุนแรง  จนถึงขั้น การประกาศ เป็นพื้นที่ กฎ อัยการศึก  ซึ่ง ในภาพ ที่เกิดขึ้น ทำให้ ถูกมองว่า พื้นที่ ชายแดนใต้ เลวร้าย มากขึ้น ซึ่ง แน่นอน ว่า หากการใช้ กฎ อัยการศึก อย่างเข้มงวดและ จริงจัง อาจกระทบ กับ ชาวบ้าน ใน พื้นที่

"วิถีชีวิต ของ คน ใน พื้นที่ ชายแดน  มักจะ นิยมออก มาพบปะ และ ดื่ม กิน น้ำชา ใน เวลา กลางคืน  ซึ่ง อาจทำให้ความเข้าใจผิด และ ความหวาดระแวง มากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ใน ช่วงนี้ เป็น ห้วงแห่ง การเลือกตั้ง องค์กร ปกครอง ส่วนท้องถิ่น เกือบทุกระดับ  เกรงว่ามาตรการ ดังกล่าว อาจกระทบ กับ การเลือกตั้ง ใน พื้นที่ได้ และ อาจมี กลุ่มบุคคล บางกลุ่ม สวมรอย สร้างสถานการณ์ ได้"  เศรษฐ ระบุ

สิ่งที่ น่าสนใจ อย่างยิ่ง ก็คือ  ต่อ การประกาศ ใช้อำนาจ ดังกล่าว อาจเป็น การตอกย้ำ  ให้เกิด ความหวาดระแวง และความขัดแย้ง ในพื้นที่ มากขึ้น  เพราะ เมื่อ ทหาร ต้องการไล่ล่า กลุ่ม ขบวนการโจร ก่อการร้าย  แน่นอนที่สุดอาจกระทบ กับ วิถีชีวิต ของ คนชายแดนใต้

ขณะเดียวกัน เมื่อ พิจารณาไป ยุทธศาสตร์ ของ สภา ความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)  ที่วางเอาไว้  ก่อนหน้านี้ ก็คือ  พยายาม ลดช่องว่าง ด้วยการใช้ ยุทธศาสตร์ แบบสันติวิธี โดยเน้น การอยู่ อย่างมุสลิม และ ดำรงไว้ ซึ่ง วัฒนธรรมชายแดนใต้ ที่ หลากหลาย

ภาพ ของ การประกาศใช้ กฎ อัยการศึก ใน พื้นที่ขณะนี้  จึงไม่ต่าง กับ การราดน้ำมัน เข้าใส่ กองเพลิง อันจะง่าย ต่อ การสุมไฟใต้ ให้คุโชนขึ้น

บายไลน์ เอกราช มูเก็ม